ดูแลสุขภาพด้วยวิธีกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง Cancer and Physical Therapy
ดูแลสุขภาพด้วยวิธีกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง Cancer and Physical Therapy
การรักษามะเร็งที่ดีที่สุด คือ การรักษาแบบผสมผสาน ด้วยรังสีรักษาและยา ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพร่างกายทั้งหมด การฟื้นฟูสภาพร่างกายด้วยวิธีกายภาพบำบัด เป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย อาจทำได้ในระหว่างให้การรักษา หรือหลังจากจบกระบวนการรักษาแล้วก็ได้ ซึ่งการออกกำลังกายด้วยวิธีกายภาพบำบัดนั้น นักกายภาพบำบัดจะออกแบบให้เหมาะสมต่อสภาพของผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีการฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุด และสามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง
ประโยชน์ของการออกกำลังกายหรือกายภาพบำบัดในระหว่างหรือหลังจบกระบวนการรักษาโรคมะเร็ง
1. เพิ่มความสามารถในการทำงานของหัวใจ ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และเกิดการจัดส่งออกซิเจนให้แก่กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายต่อเนื่อง 20-30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยลดของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ร่างกายรับเคมีบำบัดหรือไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ ขณะพักฟื้น
2. การทรงตัวที่ดีขึ้น การสูญเสียการทรงตัวซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อลีบเล็กลง หรือมีอาการชาจากความเสียหายของเส้นประสาท ทำได้โดยการย่อและยืดตัว การเขย่งยืนด้วยปลายเท้า
3. ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้น โดยการเดินต่อเนื่อง การวิ่งเบา ๆ หรือการบริหารร่างกายโดยใช้ถุงทรายหรือดัมเบล น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม
4. การเพิ่มความทนทานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินขึ้นบันได การยืนหรือเดินที่ทำได้นานมากขึ้น
5. การลดอาการล้าของร่างกาย ด้วยการเริ่มออกกำลังกาย ตั้งแต่ระดับเบาจนถึงระดับปานกลาง ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น อาการล้าของร่างกายระหว่างหรือหลังการรักษา เกิดจากมะเร็งที่ส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง ร่างกายจะอยู่ในสภาวะที่ทำให้รู้สึกไม่มีแรงในการกลับมาทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ รวมทั้งภาวะจิตตกด้วย
6. เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อหรือเอ็นรอบรอบข้อต่อ รวมถึงป้องกันการเกิดพังผืด ที่จะทำให้ข้อต่อยึดติด โดยเฉพาะหัวไหล่ ทำได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ หลังอาบน้ำทุกวัน
น้ำเห็ดหลินจือแดงสำเร็จรูป 300 กรัม เสริมภูมิคุ้มกัน |
7. ลดอาการไม่อยากทำอะไรเลย การรอเวลาให้โรคภัยหายเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง อาการเมื่อยล้าเข้ามาแทนที่ การกลับมาเริ่มต้นโปรแกรมการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ จะช่วยป้องกันอาการลีบของกล้ามเนื้อ และการเกิดพังผืดที่แผลผ่าตัด
8. ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกตั้งแต่ระดับเบาจนถึงระดับกลาง จะสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ และทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น
9. ลดอาการปวดที่เกิดจากการที่มะเร็งกระจายไปกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลัง ทำได้โดยการยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ หรือการรำจี้กง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนได้มากขึ้น ช่วยให้ระดับอาการปวดลดลง
10. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่จำเป็นต้องยกน้ำหนักที่หนักมาก เพียงแค่การถือของเบา ๆ หรือการเก็บใบไม้ในบ้าน การจัดบ้าน เป็นต้น
11. ควบคุมน้ำหนักตัวได้ น้ำหนักตัวลดลงเป็นปัญหาที่พบในผู้ป่วยมะเร็งทุกราย การออกกำลังกายจะทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย รวมทั้งความอยากรับประทานอาหาร จะมากขึ้นตามมาด้วย
12. เพิ่มความอดทนในการที่จะรักษามะเร็งได้จนจบการรักษา
8. ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน การออกกำลังกายแบบแอโรบิกตั้งแต่ระดับเบาจนถึงระดับกลาง จะสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ และทำให้ระบบการย่อยอาหารดีขึ้น
9. ลดอาการปวดที่เกิดจากการที่มะเร็งกระจายไปกดทับเส้นประสาท หรือกระดูกสันหลัง ทำได้โดยการยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ หรือการรำจี้กง ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนได้มากขึ้น ช่วยให้ระดับอาการปวดลดลง
10. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ไม่จำเป็นต้องยกน้ำหนักที่หนักมาก เพียงแค่การถือของเบา ๆ หรือการเก็บใบไม้ในบ้าน การจัดบ้าน เป็นต้น
11. ควบคุมน้ำหนักตัวได้ น้ำหนักตัวลดลงเป็นปัญหาที่พบในผู้ป่วยมะเร็งทุกราย การออกกำลังกายจะทำให้ระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่าย รวมทั้งความอยากรับประทานอาหาร จะมากขึ้นตามมาด้วย
12. เพิ่มความอดทนในการที่จะรักษามะเร็งได้จนจบการรักษา
คลิปเสียงการดูแลสุขำาถด้วยวิธีกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
นมนีโอมูน เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง |
ดูแลสุขภาพด้วยวิธีกายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง Cancer and Physical Therapy
Reviewed by Fit Idea
on
18 มกราคม
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: